เรื่อง ประวัติ
การประกาศ การข้อมูลข่าวสาร แห่งยุคสิ่งพิมพ์หนังสือ ของในประเทศ และของโลก
การประกาศ การข้อมูลข่าวสาร แห่งยุคสิ่งพิมพ์หนังสือ ของในประเทศ และของโลก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี
เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๑๑๖๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม
พุทธศักราช ๒๓๔๗ มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่
๔๓ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย และที่ ๒
ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด) และทรงเป็นพระราชนัดดา
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ผู้สถาปนา พระบรมราชจักรีวงศ์และสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี
เมื่อพุทธศักราช
๒๓๖๗ ได้เสด็จออกผนวชเป็นเวลา ๒๗ พรรษา ระหว่างทรงอยู่ในสมณเพศ
ได้สนพระราชหฤทัยศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน
ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ปรากฏในพงศาวดารว่า ได้เป็นเปรียญ ในพุทธศักราช
๒๓๙๔ ได้ทรงลาผนวชเนื่องจากพระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดีผู้ใหญ่
ได้อัญเชิญให้เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๑๓ ตรงกับวันที่ ๑๔
พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๙๔ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๔
แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามตามที่เฉลิมพระบรมนามาภิไธย
จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ
สุทธิสมมติเทพยพงษ์ วงษาดิศวร กระษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม
จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาษ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสนพระราชหฤทัยในการศึกษาวิชาการแขนงต่าง ๆ ทั้งด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และวิทยาการสมัยใหม่ของอารยชาติตะวันตก
มาตั้งแต่ครั้งทรงผนวช ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ บาลี สันสกฤต คณิตศาสตร์
ดาราศาสตร์ และการเมือง ในต่างประเทศ ฯลฯ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์
ทรงมีพระบรมราโชบายในการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย หลายด้าน
ทรงเปิดประเทศให้สามารถมั่นคงดำรงเอกราชอยู่ได้ในภาวะที่อิทธิพลของจักรวรรดินิยม
ตะวันตกเริ่มแผ่เข้าสู่ภูมิภาคตะวันออก
ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับ
ราชสำนักและพระมหากษัตริย์ อาทิ ประเพณีสวมเสื้อเข้าเฝ้า ฯ
การชักธงประจำพระองค์และธงชาติ
พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวต่างประเทศปฏิบัติตามธรรมเนียมของชาติตนโดยยืนเฝ้า
ฯ ได้ ในท้องพระโรง
โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์และได้พระราชทานตอบแทนแก่ชาวต่างประเทศ
นอกจากนี้
ทรงปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรให้เข้ากับกาลสมัย
เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้ราษฎรได้เฝ้าแหนใกล้ชิดและสามารถทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกา
โดยพระองค์เสด็จออกรับฎีกาทุกวันโกน รวมเดือนละ 4 ครั้ง
ทรงริเริ่มประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงร่วมเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
และสาบานว่า
จะซื่อสัตย์ต่อพสกนิกรของพระองค์แทนประเพณีเดิมที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาซึ่งพระมหากษัตริย์ประทับ
เป็นประธาน
และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการถือน้ำกระทำสัตย์แต่ฝ่ายเดียว
ในด้านกฎหมาย
ได้มีพระบรมราชโองการ หรือ ประกาศ กฎหมายต่าง ๆ ออกมา
เป็นจำนวนมากเพื่อความผาสุก และให้ความเป็นธรรมแก่อาณาประชาราษฎร์ อาทิ
การลดภาษีอากร ลดหย่อนค่านา ยกเลิกการเก็บอากรตลาด
เปลี่ยนเป็นเก็บภาษีโรงร้านเรือนแพจากผู้ค้าขายรายใหม่
ประกาศมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา
ออกพระราชบัญญัติกำหนดใช้ค่าที่ดินให้ราษฎรเมื่อมีการเวนคืน
ออกประกาศเตือนราษฎรให้รอบคอบในการทำนิติกรรม และที่สำคัญประการหนึ่ง คือ
ทรงออกกฎหมาย กำหนดลักษณะของผู้ที่จะถูกขายเป็นทาสให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น
โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกกฎหมายเดิมที่ให้ สิทธิบิดา มารดา
และสามีในการขายบุตรและภรรยา และตราพระราชบัญญัติใหม่ให้การซื้อขายทาส
เป็นไปด้วยความยินยอมของเจ้าตัวที่จะถูกขายเป็นทาสเท่านั้น
ในด้านการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
ได้ทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตก
โดยยึดหลักการประนีประนอมด้วยวิถีทางการทูต
ได้ทรงทำสัญญาทางไมตรีและการค้าในลักษณะใหม่ กับอังกฤษเป็นชาติแรก คือ
สนธิสัญญาเบาริ่ง เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๘ และกับชาติอื่น ๆ ในลักษณะ
เดียวกันในเวลาต่อมา
ในด้านเศรษฐกิจการค้า
ได้โปรดให้ยกเลิกระบบการค้าแบบผูกขาดของทางราชการไทย แต่เดิม
และแบบบรรณาการกับจีน
พระองค์ได้มีพระราชดำริปรับปรุงระบบเงินตราของไทยให้ได้ มาตรฐาน โปรดเกล้า ฯ
ให้ตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นเพื่อผลิตเหรียญเงินขนาดต่าง ๆ ใช้แทนเงินพดด้วง
ประกาศพิกัดอัตราแลกเปลี่ยนเงินเพื่อช่วยให้การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าได้คล่องและเป็นสากลขึ้น
ในด้านการทหาร ได้โปรดให้มีการจัดระเบียบทหารใหม่ และมีการฝึกทหาร ตามแบบอย่างตะวันตก ตลอดจนได้โปรดให้มีตำรวจนครบาลขึ้นเป็นครั้งแรก
ในด้านการพระศาสนา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำนุบำรุง
และบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นอย่างมากทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ วัด ปูชนียสถาน
และปูชนียวัตถุ ทรงส่งสมณทูต ไปลังกา ทรงกวดขันความประพฤติของภิกษุ สามเณร
ให้อยู่ในพระธรรมวินัย
ตลอดจนได้ทรงนำพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องในการพระราชพิธีต่าง ๆ
ซึ่งเดิมจัดตามพิธี พราหมณ์เพียงอย่างเดียว เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีโสกันต์ เป็นต้น นอกจากนี้
ได้พระราชทานเสรีภาพทางศาสนาแก่ประชาชนและได้
พระราชทานที่ดินแก่ศาสนิกชนคริสเตียนเพื่อสร้างโบสถ์
อีกทั้งโปรดให้สร้างวัดถวายเป็นราชพลี แก่พระญวณนิกายมหายาน
ในด้านการศึกษาศิลปวิทยา
ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน รวมทั้งทางด้าน ดาราศาสตร์
กล่าวได้ว่าเทียบเท่านักดาราศาสตร์สากล ทรงสามารถคำนวณสุริยุปราคาเต็มดวง
ในพุทธศักราช ๒๔๑๑ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
เป็นที่เลื่องลือในวงการดาราศาสตร์นานาชาติ ส่วนการศึกษาของอาณาประชาราษฎร์
พระองค์ได้ทรงพัฒนาการศึกษาทั้งของข้าราชสำนัก และประชาชนทั่วไป
ทรงใส่พระทัยกวดขันคนไทยให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ทรงสนับสนุนโรงเรียน
ของหมอสอนศาสนาที่เข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทยเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษา
อรรถคดี และวิทยาการของชาติตะวันตก
โปรดให้จ้างครูสตรีชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรส
ธิดาและสตรีในราชสำนัก
และยังได้ทรงพระกรุณาส่งข้าราชการระดับบริหารไปศึกษางานที่จำเป็น
สำหรับราชการไทย ณ ต่างประเทศ นอกจากนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวง ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๑
เรียกว่า "โรงอักษรพิมพการ" ทำหน้าที่ผลิต
ข่าวสารของทางราชการเพื่อเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน
โดยเริ่มพิมพ์หมายประกาศต่าง ๆ มีลักษณะอย่างหนังสือพิมพ์ข่าว ใช้ชื่อว่า
"ราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งยังคงมีอยู่สืบมาจนถึงปัจจุบัน
โดยหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา คือ
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงครองสิริราชสมบัติเป็นเวลา ๑๗ ปี ๖ เดือน เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี
เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ พระชนมพรรษา ๖๕
พรรษา มีพระราชโอรส ๓๙ พระองค์ และพระราชธิดา ๔๓ พระองค์
พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชปรารภให้ตั้งการตีพิมพ์ หนังสือราชกิจจานุเบกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ฟอร์มข้อความข้อมูล
ตามแบบชื่อ เล่ม
หน้า และบรรทัด
ตามกำหนดวันที่
สำหรับการตรวจแต่ละครั้ง ๆ