วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2542

เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๘๒ กันยายน ๒๕๔๘, วาสนา บุญสม

เรียงลักษณ์อักขระร้อย รวมใจ
ศิลป์ศาสตร์ภาษาไทย สถิตสร้าง
ทอหยาดแห่งสายใย แสนห่วง ยิ่งแล
คงอยู่อย่ารู้ร้าง ร่มพื้นไผทสยาม
ถ้อยนามตระหนักซึ้ง สุนทรีย์
เอกลักษณ์ราวมณี หนึ่งแท้
ลายสือศักดิ์กาลปี ปรากฏ เกียรติ์ฤา
เป็นหลักชาติเลิศแล้ เฉกรุ้งโลมสถาน
พูดอ่านเขียนผูกคล้อง ใจคน
ณ ท่ามความสับสน ปลดเศร้า
เปรียบสื่อส่องสากล ประสบ สุขนอ
ครองชีพตราบค่ำเช้า ชุ่มน้ำคำสมาน
ห้วงวารวิจิตรแก้ว กรองพจน์
วรรณศิลป์สวยสด สืบหล้า
หลายแนวคิดหลากรส เพลงร่ำ
ฉายภาพจากฟากฟ้า ฝั่งด้าวแดนถวิล
แผ่นดินประดับด้วย ดาวพราย
เสียงคลื่นซัดหาดทราย สาดซ้ำ
ปรัชญาหยัดท้าทาย ทันเล่ห์ เหลี่ยมเฮย
ผลเหตุจักอยู่ค้ำ เขตหล้าอาศัย
หนังสือไทยเสน่ห์ล้ำ โลมจิต
ประจักษ์ทางชีวิต กล่าวไว้
ดื่มด่ำสิ่งประดิษฐ์ สัมผัส ซึ้งนา
รู้จักถ้วนเหนือใต้ ลึกตื้นตรึงขวัญ
พยัญชนะสระพร้อง ไพเราะ
วรรณยุกต์ยิ่งเสนาะ ถิ่นนี้
อย่าให้ชาติอื่นเยาะ หยามหลู่
หลักพ่อขุนรามชี้ ช่องให้ใฝ่ถึง
ซาบซึ้งอักษระด้วย ดวงใจ
ชีวิตวิญญาณไทย เทียบฟ้า
เลือนหลงแห่งหลักชัย สูญชาติ สิ้นเอย
คือเอกราชอ่อนล้า ลบด้าวแดนสยาม
โคลงสี่สุภาพ เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2542

ประวัติความเป็นมา ของราชกิจจานุเบกษา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี
เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๑๑๖๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม
พุทธศักราช ๒๓๔๗ มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่
๔๓ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย และที่ ๒
ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด) และทรงเป็นพระราชนัดดา
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
 ผู้สถาปนา พระบรมราชจักรีวงศ์และสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี

เมื่อพุทธศักราช
 ๒๓๖๗ ได้เสด็จออกผนวชเป็นเวลา ๒๗ พรรษา ระหว่างทรงอยู่ในสมณเพศ
ได้สนพระราชหฤทัยศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน
ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ปรากฏในพงศาวดารว่า ได้เป็นเปรียญ ในพุทธศักราช
 ๒๓๙๔ ได้ทรงลาผนวชเนื่องจากพระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดีผู้ใหญ่
ได้อัญเชิญให้เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๑๓ ตรงกับวันที่ ๑๔
พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๙๔ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๔
แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามตามที่เฉลิมพระบรมนามาภิไธย
จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ
สุทธิสมมติเทพยพงษ์ วงษาดิศวร กระษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม
จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาษ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสนพระราชหฤทัยในการศึกษาวิชาการแขนงต่าง ๆ ทั้งด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และวิทยาการสมัยใหม่ของอารยชาติตะวันตก
มาตั้งแต่ครั้งทรงผนวช ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ บาลี สันสกฤต คณิตศาสตร์
ดาราศาสตร์ และการเมือง ในต่างประเทศ ฯลฯ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์
ทรงมีพระบรมราโชบายในการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย หลายด้าน
ทรงเปิดประเทศให้สามารถมั่นคงดำรงเอกราชอยู่ได้ในภาวะที่อิทธิพลของจักรวรรดินิยม
 ตะวันตกเริ่มแผ่เข้าสู่ภูมิภาคตะวันออก
ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับ
ราชสำนักและพระมหากษัตริย์ อาทิ ประเพณีสวมเสื้อเข้าเฝ้า ฯ
การชักธงประจำพระองค์และธงชาติ
พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวต่างประเทศปฏิบัติตามธรรมเนียมของชาติตนโดยยืนเฝ้า
 ฯ ได้ ในท้องพระโรง
โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์และได้พระราชทานตอบแทนแก่ชาวต่างประเทศ
นอกจากนี้
ทรงปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรให้เข้ากับกาลสมัย
เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้ราษฎรได้เฝ้าแหนใกล้ชิดและสามารถทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกา
โดยพระองค์เสด็จออกรับฎีกาทุกวันโกน รวมเดือนละ 4 ครั้ง
ทรงริเริ่มประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงร่วมเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
และสาบานว่า
จะซื่อสัตย์ต่อพสกนิกรของพระองค์แทนประเพณีเดิมที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาซึ่งพระมหากษัตริย์ประทับ
 เป็นประธาน
และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการถือน้ำกระทำสัตย์แต่ฝ่ายเดียว

ในด้านกฎหมาย
 ได้มีพระบรมราชโองการ หรือ ประกาศ กฎหมายต่าง ๆ ออกมา
เป็นจำนวนมากเพื่อความผาสุก และให้ความเป็นธรรมแก่อาณาประชาราษฎร์ อาทิ
การลดภาษีอากร ลดหย่อนค่านา ยกเลิกการเก็บอากรตลาด
เปลี่ยนเป็นเก็บภาษีโรงร้านเรือนแพจากผู้ค้าขายรายใหม่
ประกาศมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา
ออกพระราชบัญญัติกำหนดใช้ค่าที่ดินให้ราษฎรเมื่อมีการเวนคืน
ออกประกาศเตือนราษฎรให้รอบคอบในการทำนิติกรรม และที่สำคัญประการหนึ่ง คือ
ทรงออกกฎหมาย กำหนดลักษณะของผู้ที่จะถูกขายเป็นทาสให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น
โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกกฎหมายเดิมที่ให้ สิทธิบิดา มารดา
และสามีในการขายบุตรและภรรยา และตราพระราชบัญญัติใหม่ให้การซื้อขายทาส
เป็นไปด้วยความยินยอมของเจ้าตัวที่จะถูกขายเป็นทาสเท่านั้น

ในด้านการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
 ได้ทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตก
โดยยึดหลักการประนีประนอมด้วยวิถีทางการทูต
ได้ทรงทำสัญญาทางไมตรีและการค้าในลักษณะใหม่ กับอังกฤษเป็นชาติแรก คือ
สนธิสัญญาเบาริ่ง เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๘ และกับชาติอื่น ๆ ในลักษณะ
เดียวกันในเวลาต่อมา

ในด้านเศรษฐกิจการค้า
ได้โปรดให้ยกเลิกระบบการค้าแบบผูกขาดของทางราชการไทย แต่เดิม
และแบบบรรณาการกับจีน
พระองค์ได้มีพระราชดำริปรับปรุงระบบเงินตราของไทยให้ได้ มาตรฐาน โปรดเกล้า ฯ
 ให้ตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นเพื่อผลิตเหรียญเงินขนาดต่าง ๆ ใช้แทนเงินพดด้วง
ประกาศพิกัดอัตราแลกเปลี่ยนเงินเพื่อช่วยให้การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าได้คล่องและเป็นสากลขึ้น

ในด้านการทหาร ได้โปรดให้มีการจัดระเบียบทหารใหม่ และมีการฝึกทหาร ตามแบบอย่างตะวันตก ตลอดจนได้โปรดให้มีตำรวจนครบาลขึ้นเป็นครั้งแรก

ในด้านการพระศาสนา
 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำนุบำรุง
และบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นอย่างมากทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ วัด ปูชนียสถาน
 และปูชนียวัตถุ ทรงส่งสมณทูต ไปลังกา ทรงกวดขันความประพฤติของภิกษุ สามเณร
 ให้อยู่ในพระธรรมวินัย
ตลอดจนได้ทรงนำพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องในการพระราชพิธีต่าง ๆ
ซึ่งเดิมจัดตามพิธี พราหมณ์เพียงอย่างเดียว เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีโสกันต์ เป็นต้น นอกจากนี้
ได้พระราชทานเสรีภาพทางศาสนาแก่ประชาชนและได้
พระราชทานที่ดินแก่ศาสนิกชนคริสเตียนเพื่อสร้างโบสถ์
อีกทั้งโปรดให้สร้างวัดถวายเป็นราชพลี แก่พระญวณนิกายมหายาน

ในด้านการศึกษาศิลปวิทยา
 ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน รวมทั้งทางด้าน ดาราศาสตร์
กล่าวได้ว่าเทียบเท่านักดาราศาสตร์สากล ทรงสามารถคำนวณสุริยุปราคาเต็มดวง
ในพุทธศักราช ๒๔๑๑ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
เป็นที่เลื่องลือในวงการดาราศาสตร์นานาชาติ ส่วนการศึกษาของอาณาประชาราษฎร์
 พระองค์ได้ทรงพัฒนาการศึกษาทั้งของข้าราชสำนัก และประชาชนทั่วไป
ทรงใส่พระทัยกวดขันคนไทยให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ทรงสนับสนุนโรงเรียน
ของหมอสอนศาสนาที่เข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทยเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษา
 อรรถคดี และวิทยาการของชาติตะวันตก
โปรดให้จ้างครูสตรีชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรส
ธิดาและสตรีในราชสำนัก
และยังได้ทรงพระกรุณาส่งข้าราชการระดับบริหารไปศึกษางานที่จำเป็น
สำหรับราชการไทย ณ ต่างประเทศ นอกจากนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวง ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๑
เรียกว่า "โรงอักษรพิมพการ" ทำหน้าที่ผลิต
ข่าวสารของทางราชการเพื่อเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน
โดยเริ่มพิมพ์หมายประกาศต่าง ๆ มีลักษณะอย่างหนังสือพิมพ์ข่าว ใช้ชื่อว่า
"ราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งยังคงมีอยู่สืบมาจนถึงปัจจุบัน
โดยหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา คือ
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงครองสิริราชสมบัติเป็นเวลา ๑๗ ปี ๖ เดือน เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี
เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ พระชนมพรรษา ๖๕
พรรษา มีพระราชโอรส ๓๙ พระองค์ และพระราชธิดา ๔๓ พระองค์
พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชปรารภให้ตั้งการตีพิมพ์ หนังสือราชกิจจานุเบกษา
โปรดดูความสำคัญ ข้อควรรู้ และสิ่งสำคัญจำเป็น ที่มีประกาศแล้วในราชกิจจานุเบกษา

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2542

Phasa Thai, Phasa Siam

The National Thai Language Day is on the 29th of July, as His Majesty
the King proceeded to confer the royal initiative on the use of Thai
words. In an academic meeting of the Thai assembly Arts Council
Chulalongkorn University at the meeting room of the Faculty of Arts on
July 29, 1957. Later, the Campaign Committee for Thai Language
Chulalongkorn University Proposes to ask the government to announce the
29th July of every year as the National Thai Language Day And the
Cabinet passed a resolution on July 13, 1999, requiring that the 29th of
 July every year be the Language Day of Nation And announced the Office of
the Prime Minister on National Thai Language Day on 20 July 1999.
Source: Radio "Ru Rak Phasa Thai" Thai broadcasting radio broadcast station of Thailand On 29 July 2554 from 7:00 am to 7.30 am


  • 1. Bo Bai-Mai The Scription of Thai Alphabet (26)
  • 2. Cho Chan The Scription of Thai Alphabet (8)
  • 3. Cho Chang The Scription of Thai Alphabet (10)
  • 4. Cho Ching The Scription of Thai Alphabet (9)
  • 5. Cho Choe The Scription of Thai Alphabet (12)
  • 6. Do Cha-Da The Scription of Thai Alphabet (14)
  • 7. Do Dek The Scription of Thai Alphabet (20)
  • 8. Fo Fa The Scription of Thai Alphabet (29)
  • 9. Fo Fan The Scription of Thai Alphabet (31)
  • 10. Ho Hip The Scription of Thai Alphabet (45)
  • 11. Ho Nok-Huk The Scription of Thai Alphabet (48)
  • 12. Kho Khai The Scription of Thai Alphabet (2)
  • 13. Kho Khon The Scription of Thai Alphabet (5)
  • 14. Kho Khuat The Scription of Thai Alphabet (3)
  • 15. Kho Khwai The Scription of Thai Alphabet (4)
  • 16. Kho Ra-Khang The Scription of Thai Alphabet (6)
  • 17. Ko Kai The Scription of Thai Alphabet (1)
  • 18. Lo Chu-La The Scription of Thai Alphabet (46)
  • 19. Lo Ling The Scription of Thai Alphabet (38)
  • 20. Lo Lu The Scription of Thai Alphabet (39)
  • 21. Lo Lue The Scription of Thai Alphabet (40)
  • 22. Mo Ma The Scription of Thai Alphabet (33)
  • 23. Ngo Ngu The Scription of Thai Alphabet (7)
  • 24. No Nen The Scription of Thai Alphabet (19)
  • 25. No Nu The Scription of Thai Alphabet (25)
  • 26. O Ang The Scription of Thai Alphabet (47)
  • 27. Pho Phan The Scription of Thai Alphabet (30)
  • 28. Pho Phueng The Scription Thai Alphabet (28)
  • 29. Pho Sam-Phao The Scription of Thai Alphabet (32)
  • 30. Po Pla The Scription of Thai Alphabet (27)
  • 31. Ro Ru The Scription of Thai Alphabet (36)
  • 32. Ro Rue The Scription of Thai Alphabet (37)
  • 33. Ro Ruea The Scription of Thai Alphabet (35)
  • 34. So Rue-Si The Scription of Thai Alphabet (43)
  • 35. So Sala The Scription of Thai Alphabet (42)
  • 36. So So The Scription of Thai Alphabet (11)
  • 37. So Suea The Scription of Thai Alphabet (44)
  • 38. Tho Nang-Mon-Tho The Scription of Thai Alphabet (17)
  • 39. Tho Phu-Thao The Scription of Thai Alphabet (18)
  • 40. Tho Tha-Han The Scription of Thai Alphabet (23)
  • 41. Tho Than The Scription of Thai Alphabet (16)
  • 42. Tho Thong The Scription of Thai Alphabet (24)
  • 43. Tho Thung The Scription of Thai Alphabet (22)
  • 44. To Pa-Tak The Scription of Thai Alphabet (15)
  • 45. To Tao The Scription of Thai Alphabet (21)
  • 46. Wo Waen The Scription of Thai Alphabet (41)
  • 47. Yo Yak The Scription of Thai Alphabet (34)
  • 48. Yo Ying The Scription of Thai Alphabet (13)

We invite all of you. See evidence and detection information found.
"Dear all members who may not worry about having to find an error that they must find themselves, please refer to them as I find them., it's a way to see, even though not yet complete, because the amount of data must be inspected, but it is still in the future. On the page, however, it is best to have a perfect fit for a day. People who see that there is a belief. Honestly trust itself, it is a wicked excuse. Fix the wrong And everything to perfection, one time this agenda will be seen to solve the most secret of the shock. In such a way, you think and think about believing me, so I invite you,
"Let's give you the power to be self-correction."
Up-to-lesson is important that you are taking to correct the error, follow the good thing that all the obligations from you that would be to be complete, and not make mistakes. You have done a complete perfect hope that even in what in the message. In the information that has been linked to the utmost mystery, Everywhere. If each of you is going to become a good one, I invite you to please. Follow the "things that relate to our Siam alphabet" :- the Tripitaka with commentary and explanations. Which the Buddhist One all way Due a way to 1 all 91 book step script, a book with a scripture, a teaching, Describe the data set that I have read, checked, and sufficient to collect, as included here. Because I think that I'm too late. I have not shared any of the information anywhere, but it's important to be aware of it all the time. In order to give all of you the same look that if you go, you will find the information that I have gathered as a part of the secondary being included. Correct the fault. The "Siamese" is the language of Thai language in all of the chapters, according to the alphabet Recorded the language of our nation

ห้าม!นำข้อมูลของบล็อกเกอร์เพจ นี้ ออกไปจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ไปเพื่อการยึดถือเป็นวัตถุทางความเชื่อ หรือนำเสนอไปในงานทางธุรกรรมเชิงพาณิชย์ อย่างเด็ดขาด!, แต่อนุญาตให้ใช้ผลงานของบล็อกเพจนี้ ได้ หากว่าเป็นไปเพื่อการศึกษา และการวิจัยทางความรู้ ที่มีสาระประโยชน์ ในอันที่จะไม่เป็นการผิดศีลธรรม และกฎหมาย๚.
Sim Plate Key Card Data Blog ID Siam Building


Post Code

โปรดพิจารณาให้เห็นประโยชน์ ว่าน้อย หรือมาก ด้วยตัวของท่านเอง

Phasa Thai, Phasa Siam